วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Week 8 : Data Management


·                 มี Input ผ่าน process เพื่อให้ได้ Output
·                 มี Objective องระบบ
·                 มี การระบุส่วนประกอบของระบบ
·                 มี การระบุขอบเขต การควบคุม   
·                 Output จาก IS คือ สารสนเทศ ซึ่งมีที่มาจาก objective ที่วางไว้
Data and Information
Data และ Information มีลักษณะที่คล้ายกัน แต่สามารถแบ่งแยกได้โดยใช้มุมมองของผู้รับว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในข้อมูลนั้นหรือไม่ โดยการที่นำ Data ไปเข้า process ก็ยังไม่นับเป็น information ถ้าหากผลลัพธ์ไม่เป็นที่ต้องการของผู้รับ ฉะนั้นจุดสำคัญของระบบสารสนเทศคือการที่ให้ process ปรับ Data ให้เป็น Information ที่แต่ละฝ่ายต้องการใช้งานโดยมี process ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลเพื่อให้ได้ output ที่ถูกต้องเข้าใจง่าย (e.g. การที่ระบุตารางเรียนของนักศึกษาป.โท จะเป็น information ของนักศึกษาปริญญาโทเท่านั้น ซึ่งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีจะเป็นเพียง Dataที่รับรู้แค่นั้น)
Information system
เป็นระบบผลิตสารสนเทศ ที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อวิเคราะห์ให้ได้ผลลัพธ์ตาม objective ที่ต้องการ ซึ่งระบบสารสนเทศก็แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ หลังจากได้ Information แล้วก็จะนำเสนอให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานและเก็บ output นั้นเข้าใน Database เพื่อเรียกใช้ในอนาคตต่อไปด้วย
องค์ประกอบของ IS
1.       Hardware
2.       Software
3.       Data
4.       Network
5.       Procedures
6.       People
Data Management
                ข้อมูลเป็นสิ่งที่กระจายอยู่ทั่วทั้งองค์กรข้อมูลจึงเกิดความซ้ำซ้อนและไม่เป็นระเบียบ บริษัทจึงสมควรจัดทำการบริหารข้อมูลเหล่านี้โดยการเลือกใช้ Tool เพื่อบริหารข้อมูลโดยเป็น Infrastructure หนึ่งในการเปลี่ยน raw data เป็น corporate information โดยเลือกใช้ tool ตามความจำเป็น เนื่องจากระดับของ security, quality, integrity ของผลลัพธ์ที่ต้องการเป้นตัวกำหนด tool ที่จะเลือกใช้ ในฐานข้อมูลที่ไม่ต้องการคุณภาพและความปลอดภัยมากนักบริษัทก็สามารถเลือกใช้ tool ที่มีศักยภาพลดลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้
Data Life Cycle
                ในการทำธุรกิจขั้นตอนสุดท้ายนั้นมีมากกว่าการเรียกชำระเงินและจัดส่งสินค้า แต่จะหมายรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและประเภทของสินค้าและลักษณะของลูกค้าที่สั่งซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้วิเคราะหหากลยุทธ์ต่างๆในอนาคต โดยมีการจัดเก็บข้อมูลเป็น temporary ใน database จากนั้นจึงจัดเข้าไว้ใน data warehouse  โดยข้อมูลที่จำเป็นจะได้มาจาก
                Transactional processing ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลภายใน database ที่แบ่งย่อยได้ 3 รูปแบบ คือ
·        Internal data – เป็นข้อมูลรายละเอียดในแต่ละฝ่ายภายในองค์กร ซึ่งจะเป็น
·        External data – เป็นข้อมูลภายนอกองค์กรเช่น customer  supplier
·        Personal data – เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากที่บุคลากรดำเนินการใช้ tool ที่เลือกขึ้นเองเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคล ซึ่งในอดีตจะมีข้อมูลประเภทนี้อยู่มากในองค์กรเนื่องจากระบบ traditional tansaction processing ยังขาดการ integration และ ยังไม่สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนตามที่ต้องการ
ทั้งนี้ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์จะทำให้กระบวนการต้องหยุดชะงักลงไป ฉะนั้นแล้วจึงเกิดระบบ Data Warehouse ขึ้นใสเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทที่ต้องวิเคราะห์ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและไม่จำเป้นต้องให้ระบบ operating ต้องหยุดการทำงานลง
Data Warehouse
                เป็นระบบที่ใช้ใน firm ที่มีข้อมูลปริมาณมากและใช้ข้อมูลในการตัดสินใจบริหารงานต่างๆเป็นหลัก โดยระบบจะทำการ extract ข้อมูลบางส่วนที่ให้ความสนใจ เช่น เรื่อง supplier เพื่อนำมาเข้า analytical process ต่อไป โดยลักษณะของข้อมูลที่ถูก extract ออกมานั้นจะต้องมีลักษระดังนี้
·        Subject oriented – ข้อมูลที่ถกคัดออกมาจะต้องถูกจัดเก็บเป้นหมวดหมู่ตาม subject เพื่อให้ง่ายต่อการดึงมาใช้งานในภายหลัง
·        Consistency – ข้อมูลต้องมีความสอดคล้องกังถูกต้องตรงกัน เช่นวิธีการบันทึกข้อมูล ด้าน ชื่อหรือเพศ
·        Time variant – จะเป้นข้อมูลที่มีลักษณะของช่วงเวลา เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาที่ดำเนินงานแต่ละช่วงได้

ธารินทร์ ธนเรืองศักดิ์
5202112867

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น